ประกันคีย์แมน การนำมาเป็นค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้อง | Blog | บริษัท บัญชีมีค่า จำกัด

ประกันคีย์แมน การนำมาเป็นค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้อง

Blog - บทความด้านบัญชีธุรกิจที่มีประโยชน์

ประกันคีย์แมน การนำมาเป็นค่าใช้จ่ายอย่างถูกต้อง

ผู้ประกอบการหลายๆท่าน ถ้าธุรกิจมีกำไรแต่ไม่อยากเสียภาษีเยอะเกินไปนัก ก็มักจะพยายามหาค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายเพิ่มเข้ามา และ 1 ในค่าใช้จ่ายที่มักจะนำมาใช้กันก็คือ การทำประกันให้กับคีย์แมน หรือ ผู้ที่มีตำแหน่งที่มีความสำคัญของบริษัท เช่น กรรมการ ผู้บริหารระดับสูง เป็นต้น
แต่ก็มักจะตกม้าตายกันเยอะ เพราะไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง วันนี้เรามาดูกันว่า การทำประกันให้กับผู้บริหารของบริษัท มีอะไรที่ต้องตรวจสอบความถูกต้องกันบ้าง

1. ต้องมีเอกสารรับรอง ที่สรรพากรยอมรับเป็นค่าใช้จ่าย

การที่บริษัทจ่ายเบี้ยประกันให้กับคีย์แมนของบริษัททุกคน ตามระเบียบสวัสดิการพนักงานของบริษัท สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวนกำไรสุทธิได้ ก็ต่อเมื่อ ให้กับพนักงานในระดับเดียวกันโดยไม่เลือกปฎิบัติ (ถ้าทำก็ต้องทำให้กับกรรมการทุกคน) อายุกรมธรรม์ต้อง 10 ปีขึ้นไป และ มีกำหนดไว้ชัดเจนในระเบียบของกิจการ โดยเอกสารเบื้องต้นที่ต้องเตรียมคือ รายงานการประชุม (ตัวอย่าง word, pdf) / ใบสำคัญจ่าย / หนังสือรับรองจาก บริษัทประกัน

2. ซื้อประกันไม่เยอะเกินกำไรของบริษัท

ประเด็นนี้ต้องดูความเหมาะสมของกิจการด้วยครับ ถ้ามีการจ่ายเบี้ยประกันมากไป ไม่สมดุลกับกำไรของบริษัท ก็จะเป็นประเด็นให้ทางสรรพากรเพ่งเล็งได้ ซึ่งถ้ามีการจ่ายค่าเบี้ยประกันมากเกินไป จนทำให้ดูเหมือนมีการโยกย้ายถ่ายเทเงินจากบริษัทไปยังกรรมการ หรือดูเหมือนจงใจปรับแต่งงบให้เสียภาษีน้อยลง เบี้ยประกันที่เหมาะสม ควรไม่เกิน 10% ของภาษีเงินได้นิติบุคคล

3.ผลประโยชน์ให้กับใคร ถ้าผลประโยชน์ให้กับกรรมการ ต้องนำเป็นรายได้ของกรรมการ

- ถ้าผู้รับผลประโยชน์จากกรมธรรม์นั้นเป็นบริษัทเอง ถ้ามีการได้รับผลประโยชน์จากประกันเข้ามา ให้บันทึกเป็นรายได้ของบริษัท ตามมาาตร 65 แห่งประมวลรัษฎากร - ถ้าผู้รับผลประโยชน์ เป็นคีย์แมนเอง ต้องนำเบี้ยประกันที่บริษัทจ่ายให้ รับรู้เป็นรายได้ของผู้บริกหารคนน้ันๆด้วย ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งอาจทำให้ผู้บริหารคนนั้นมีฐานรายได้ ที่เสียภาษีมากขี้น แต่ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากกรมธรรม์ จะได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 42 (13) แห่งประมวลรัษฎากร

จะเห็นได้ว่า การซื้อประกันให้กับคีย์แมนของบริษัท สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้จริง แต่ก็ต้องคำนึงถึง ข้อกำหนดต่างๆให้ครบถ้วน เป็นที่ยอมรับของสรรพากรแล้ว ยังต้องพิจารณาผลประโยชน์ทางภาษีของตัวผู้บริหารเองอีกด้วย เพราะถ้าผู้รับผลประโยชน์เป็นตัวคีย์แมนเอง ต้องรับรู้เบี้ยนั้นเป็นรายได้ ซึ่งถ้ามีฐานรายได้ที่สูงอยู่แล้ว อาจะทำให้มีโอกาสเสียภาษีบุคคลธรรมดามากกว่าภาษีนิติบุคคลที่ประหยัดได้เสียอีก

  • บทความโดย: บัญชีมีค่า
  • เขียนเมื่อ : 27 มกราคม พ.ศ. 2563
บริษัท บัญชีมีค่า จำกัด
Tel : 080-3939-982 / Line ID : @ValuedAccounting
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี : 0105562005831
Copyrights © 2020 All Rights Reserved by Valued Accounting Co.,Ltd.